วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552

การตรวจพิสูจน์โบราณวัตถุว่าเป็นของแท้หรือของทำเลียนแบบ

การตรวจพิสูจน์โบราณวัตถุว่าเป็นของแท้หรือของทำเลียนแบบ
สำหรับพระพุทธรูปและเทวรูปหินทราย

เราทราบแล้วว่าประติมากรรมทางศาสนาชิ้นแรกๆนั้นถูกสร้างขึ้นด้วยหินทราย หลายชิ้นที่มีสัดส่วนที่สมบูรณ์เป็นดินเผาที่ฉาบด้วยปูนแล้วปิดทอง ประติมากรรมโบราณหลายชิ้นจะเป็นหินอ่อน เพราะมันเป็นสิ่งที่หาอยากแต่ความสวยงามของมันจะเสื่อมสลายไปอย่างรวดเร็วเมื่อเจอกับสภาพอากาศเขตร้อนแบบบ้านเรา

จากส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยของพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งนครลอสแองเจลิส ในหัวข้อเรื่อง ประติมากรรมของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีการพิจารณาเกี่ยวกับปัญหาการบ่งชี้ถึงความเก่าแก่ของโบราณวัตถุประติมากรรมหินทรายต่างๆนั้น แม้ว่าการวิจัยนี้ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่กฎเกณฑ์ต่างๆทางด้านเทคนิคเพื่อกำหนดความเก่าแก่ของโบราณวัตถุนั้นได้เสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งจุดประสงค์ของการศึกษาถึงความเก่าแก่แท้ของโบราณวัตถุนี้เพื่อที่จะให้เราสามารถบ่งชี้ถึงคุณลักษณะ และกำหนดลักษณะทางกายภาพของโบราณวัตถุที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า เพื่อที่จะสามารถบอกถึงอายุของประติมากรรมที่ถูกทดสอบแต่ละชิ้นนั้นถูกสร้างขึ้น


โดยที่โครงการวิจัยดังกล่าวนี้ ได้ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์และวิธีทางเทคนิคดังกล่าวนั้นทดสอบกับประติมากรรมขอมที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ต่างๆ แล้วอย่างเช่น ในพิพิธภัณฑ์พนมเปญและที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติว่าด้วยศิลปะเอเชีย กีเม่ กรุงปารีส ซึ่งกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการทดสอบวัตถุโบราณนี้ได้พิสูจน์ในเห็นว่าโบราณวัตถุต่างๆนั้นเก่าแก่จริงๆ


ไม่มีการทดสอบใดที่สามารถบอกถึงวันเวลาที่สร้างประติมากรรมเหล่านั้นได้ แต่การศึกษาร่องรอยของเครื่องมือสามารถแบ่งแยกได้ว่าเป็นการใช้เครื่องมือสมัยใหม่หรือเครื่องมือโบราณในการแกะ อย่างไรก็ตามชนิดของเครื่องมือที่ใช้แกะของหินทรายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่มีการบันทึกไว้ วิธีดังกล่าวจึงใช้ไม่ได้ ดังนั้นร่องรอยต่างๆเกี่ยวกับของเก่าแก่แท้จริงนั้นต้องมาจากการเปลี่ยนแปลงภายในหินและบนพื้นผิวของหิน ประติมากรรมที่สร้างขึ้นเมื่อ ๘๐๐-๑๔๐๐ปีก่อนต้องขึ้นอยู่กับกระบวนการกัดกร่อนโดยธรรมชาติมาอย่างยาวนาน และรวมถึงการฝังดินและขุดขึ้นมาบนพื้นดิน และอาจจะรวมถึงการใช้เพื่อตกแต่งหรือใช้เพื่อพิธีกรรมทางศาสนาด้วยเช่นกัน
การกัดกร่อนที่ทำปลอมและสะเก็ดผิวที่กะเทาะปลอมขึ้นมานั้นเพียงพอที่จะบ่งชี้ว่าชิ้นนั้นเป็นของปลอม

หินเป็นสิ่งที่แข็งแต่ไม่ยืดหยุ่น เพราะฉะนั้นเมื่อกระแทกแรงๆมันก็จะแตก ข้อแนะนำก็คือ - ไม่จำเป็นต้องทำให้โบราณวัตถุที่สวยงามต้องเสียหาย - และประติมากรรมชิ้นที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ควรจะถูกตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อค้นหาว่ามันเป็นโบราณวัตถุจริงหรือไม่


การเปลี่ยนแปลงบางอย่างบนผิวของหินสามารถทำให้เกิดลักษณะเฉพาะของการผ่านกาลเวลามาอย่างยาวนาน แต่การดัดแปลงผิวหินด้วยขั้นตอนที่ซับซ้อนก็อาจจะเป็นไปได้ที่จะทำให้สรุปด้วยความมั่นใจว่าเป็นการสร้างขึ้นเมื่อหลายร้อยหลายพันปีที่แล้ว หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ การบ่งชี้ลักษณะทางเทคนิคเป็นสิ่ง(มั่นคง)ที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปกับการระบุวันเวลาของการสร้างซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการรับรอบความเก่าแก่ของวัตถุ ดังนั้นบทสรุปอยู่บนข้อสันนิษฐานที่ว่าสิ่งที่ทำเทียมขึ้นมาใหม่นั้นไม่แสดงพื้นผิวที่ถูกกัดกร่อน แต่เราสามารถทำให้โบราณวัตถุปลอมให้เกิดร่องรอยพื้นผิวที่ดูเก่าแก่ได้ ดังนั้นการดูแค่พื้นผิวที่สึกกร่อนไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นโบราณวัตถุแท้


พื้นผิวของหินถูกทดสอบผ่านการส่องด้วยกล้องสเตริโอไมโครสโคป แม้ว่าวัตถุทุกชิ้นที่ตรวจพิสูจน์จะเป็นหินทราย แต่ลักษณะทางกายภาพต่างๆของหินนั้นหลากหลาย องค์ประกอบหลักของหินทรายทุกๆชิ้นนั้นเป็นแร่ควอร์ทซ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในอนุภาค ซึ่งขนาด, รูปร่าง และสีของส่วนประกอบแร่ควอร์ทซนั้นแตกต่างกัน และยังมีแร่อื่นๆประปนอยู่อีก เช่น เฟลดสปาร์, ไพไรท์, ไมก้า และแร่อื่นๆ หินทรายบางชนิดก็ค่อนข้างแข็ง เพราะประกอบด้วยแร่ควอร์ทซฝังอยู่มากในก่อนหิน ขณะที่เนื้อหินทรายชนิดอื่นๆค่อนข้างอ่อนลงเรื่อย เพราะส่วนประกอบแต่ละอย่างอาจจะเปราะลงเรื่อยๆ และการยึดเกาะกันของอนุภาคก็จะเสื่อมลง

ลักษณะซึ่งบ่งชี้ในการศึกษาของเก่าแก่แท้จริงนั้นอาศัยลักษณะของสารเคมีในภูมิอากาศโดยธรรมชาติ หรือ การจับรวมตัวกันของส่วนประกอบต่างๆทั้งหมด


๑. สารเคมีที่อยู่ในภูมิอากาศเป็นสาเหตุเกิดการกัดกร่อนในชั้นของพื้นผิวของหิน และชั้นนี้อาจจะอยู่ลึกลงไปน้อยกว่าหนึ่งมิลลิเมตรไปจนถึงหลายเซนติเมตร มันจะพรุนมากขึ้นและผิวหินอ่อนลง และอาจจะแสดงเป็นสีที่แตกต่างกันในชั้นของภูมิอากาศ ภูมิอากาศจะส่งผลต่อแร่ที่เป็นส่วนประกอบต่างๆที่พื้นผิวหรือใกล้กับพื้นผิวที่ยาวนานกว่าแร่ซึ่งอยู่ลึกภายในหิน แร่บางชนิดจะทนต่อการกัดกร่อนขณะที่แร่อื่นๆอาจจะสลายตัวไป การสึกกร่อนเฉพาะที่นี้เมื่อมองด้วยกล้องไมโครสโคปจะสังเกตพบส่วนประกอบทางเคมีของส่วนประกอบอนุภาคแร่เพียงบางส่วนหรือทั้งหมด หรือแร่ที่เกาะอยู่โดยรอบพื้นผิว อย่างที่คาดไว้ หินทรายที่มีผิวมันวาวจะมีการสึกกร่อนน้อยมาก แต่ถึงแม้จะสึกกร่อนแล้ว ลักษณะที่มันวาวดังเดิมของพื้นผิวหินนั้นอาจจะช่วยรักษาการต้านการสึกกร่อน


๒. การรวมตัวกันของส่วนประกอบต่างๆบนพื้นผิวหินนั้นทำให้เราเห็นถึงประวัติศาสตร์ของประติมากรรมนั้นและสภาวะแวดล้อมของมัน ส่วนประกอบที่พบโดยทั่วไปบนประติมากรรมขอมนั้นรวมถึง สีที่ทา, ดิน, รากพืช และ เชื้อราหรือตะไคร่น้ำ (เรียกว่า ร่องรอยของจุลชีพ) มีประติมากรรมหลายชิ้นที่ถูกทาสีไว้แต่สีนั้นก็ไม่ได้คงทนอยู่บนประติมากรรมขอม อย่างไรก็ตามบางประติมากรรมบางชิ้นก็ยังหลงเหลือร่องรอยของสีทีถูกทา รวมถึงผิวของหินก่อนที่จะถูกทาสี ส่วนดินที่ติดอยู่บนประติมากรรมนั้นไม่สามารถนำมาพิจารณาถึงอายุหรือว่าเป็นโบราณวัตถุแท้หรือไม่ ยกเว้นว่ามันมีวัตถุพยานที่ผ่านกระบวนการของธรรมชาติมาอย่างยาวนาน ยกตัวอย่างเช่นมีรากของพืช มันแสดงให้เห็นถึงการเติบโตของมันบนพื้นดินหรือใต้ดิน แต่มันก็ไม่ได้เป็นส่วนสำคัญที่จะบอกว่าเป็นโบราณวัตถุแท้ อย่างไรก็ตามรากของพืชนี้ก็จะกลายเป็นสิ่งที่ฝังติดแน่นอยู่บนพื้นผิว เมื่อรากพืชย่อยสลายไปมันก็จะทิ้งร่องรอย การปรากฏร่องรอยของรากพืชหรือการเปลี่ยนแปลงของรากพืชนี้สามารถบอกได้ว่าผ่านกระบวนการมาอย่างยาวนานและใช้สนับสนุนได้ว่าเป็นโบราณวัตถุแท้

การอธิบายรายละเอียดของจุลชีพที่ทับถมกัน และผลกระทบของเชื้อเห็ดราและตะไคร่น้ำที่เกาะบนพื้นผิวของหินนั้นไม่ได้อยู่ในบทความนี้ หัวข้อของการศึกษานี้เน้นเกี่ยวกับการสึกกร่อนของหิน สิ่งที่สำคัญคือความเข้าใจเกี่ยวกับการทิ้งร่องรอยของการทับถมกันไว้บนพื้นผิวหินของพวกเชื้อเห็ดรา, และตะไคร่น้ำ ซึ่งการทับถมกันแบบนี้สามารถทำให้เข้าใจได้ว่าไม่ได้ทำขึ้นมาใหม่ แต่ต้องผ่านกระบวนการมาอย่างช้าๆและยาวนาน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการปรากฏจุดสีดำๆบนพื้นผิว แม้ว่าเราจะไม่ทราบองค์ประกอบที่แน่นอนแต่เราทราบว่ามันเป็นผลที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆเหล่านั้น มันประกอบไปด้วยแมงกานีสออกไซด์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจุดสีดำจากแมงกานีสออกไซด์เป็นลักษณะเฉพาะที่สำคัญที่มาก



เราสามารถแยกประติมากรรมหินของแท้และของปลอมออกจากกันได้โดยการวิเคราะห์ความเก่าแก่และการเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวของหิน การวิเคราะห์ด้วยกล้องสเปคโตรสโคปเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ใช้ เพราะมันทำให้เห็นความเก่าแก่ของเนื้อหินและซากราและสิ่งมีชีวิตเล็กๆได้อย่างชัดเจน แตกต่างจากของปลอมที่ทำจากกาว, ปูนซีเมนต์และปูนขาว สำหรับผู้เชี่ยวชาญแล้ว กล้องจุลทรรศน์ที่ดีจะช่วยให้ตรวจหาของปลอมโดยดูจากลักษณะที่บอกอายุบนพื้นผิวของหิน


โบราณวัตถุขอมที่ทำปลอมขึ้นมาใหม่หลายชิ้นสามารถระบุได้โดยใช้กล้องขยาย Stereomicroscope เพื่อตรวจสอบวิธีที่ทำปลอมขึ้นมา การใช้ดิน การปรากฏของการยึดแกะของสิ่งต่างๆที่ประกอบกันขึ้นมา เช่นการใช้น้ำมันหรือเรซิ่นในการเลียนแบบการตกสีบนพื้นผิวหิน, และการสึกกร่อน อย่างไรก็ตามมีประติมากรรมหลายชิ้นที่ไม่สามารถสรุปได้แน่นอนด้วยกล้องขยาย Stereomicroscope ซึ่งต้องอาจต้องใช้วิธีอื่นๆเช่น Petrographic เพื่อทดสอบแร่หิน หรือการอธิบายคุณสมบัติเฉพาะของหินทรายในการพิสูจน์โบราณวัตถุแท้

ความซับซ้อนในการศึกษาโบราณวัตถุแท้ผ่านกล้องจุลทรรศน์อาจจะทำให้เห็นถึงการทำความสะอาดหรือการซ่อมแซมโบราณวัตถุนั้น เช่นการเปลี่ยนแปลงสภาพบางอย่างบนพื้นผิวและสามารถเห็นถึงการทับถมกันการเสื่อมสลายไปบนพื้นผิวหิน หรือแม้แต่ชั้นของหิน ในบางกรณีถ้าหากมีรูปภาพของโบราณวัตถุก่อนทำความสะอาดจะช่วยได้มากในการกำหนดขอบเขตที่ต้องการจากการทำความสะอาด

เนื่องจากค่าขนส่งสำหรับหินที่มีน้ำหนักมากๆนั้นที่แพงมาก จึงทำให้ผู้ค้าโบราณวัตถุจะขายหัวของประติมากรรมก่อน และจากนั้นจึงจะขายประติมากรรมส่วนลำตัวที่ไม่มีหัวในภายหลัง ซึ่งเราจะพบเห็นได้บ่อยๆในวัดต่างๆ โดยเฉพาะประติมากรรมขอมเป็นที่นิยมของชาวตะวันตก เพราะลวดลายที่เรียบและลายเส้นที่ทำให้มันดูดีเมื่อนำไปตกแต่งบ้าน จึงทำให้มันเป็นที่ต้องการมากซึ่งนำไปสู่การผลิตประติมากรรมเลียนแบบที่ไม่มีหัวและไม่มีแขนขาออกมาเป็นจำนวนมากๆ



จากภาพเก่านี้จะพบว่าประติมากรรมขอมที่ถูกพบเหล่านี้มีสภาพเดิมอย่างที่เห็น และจะเห็นว่าขณะนี้ผู้ผลิตของปลอมได้ผลิตออกมาในลักษณะใด (สังเกตเส้นแดง)



ประติมากรรมที่ยังคงมีหัว, แขนขา และเท้าครบสมบูรณ์นั้นต้องใช้ทักษะสูงในการแกะลวดลายเหล่านั้น แต่ประติมากรรมขอมของปลอมนั้นจะถูกผลิตแบบไม่มีแขนไม่มีขาออกมาเดือนหนึ่งเป็นร้อยๆชิ้นโดยช่างแกะที่ไม่ได้มีทักษะสูง อายุหินไม่สามารถบอกได้ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียว แต่ผิวของหินแสดงให้เห็นถึงลักษณะทางวิทยาศาสตร์ที่ยังคงเหลืออยู่หลังจากได้ผ่านภูมิอากาศหรือฝังในดินมาเป็นเวลานาน พอที่จะพิจารณากำหนดอายุได้บนพื้นฐานเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลป์ด้วยเช่นกัน
หนังสืออ้างอิง
Bunker, Emma C. & Latchford, Douglas . Adoration and Glory - The Golden Age of Khmer Art. Chicago (USA): Art Media Resources, 2004.
Groslier, George. La sculpture khmère ancienne / Illus. de 175 reproductions horstexte en similigravure. Paris (France): G. Crès, 1925.
Matthaes, Gottfried. The Art Collector’s Handbook: How to tell authentic antiques from fakes, Vol. 3 Excavated Art, Asian and African Art. Milano (Italy): Museo del Collezionista d’Arte, 2002.